เทวดา (ศาสนาพุทธ)
บทความนี้ได้รับแจ้งให้ปรับปรุงตามด้านล่าง กรุณาช่วยปรับปรุงบทความ
หรือเสนอแนะที่หน้าอภิปราย
บทความนี้ต้องการจัดรูปแบบข้อความ การจัดหน้า การแบ่งหัวข้อ
การจัดลิงก์ภายใน และอื่น ๆ
บทความนี้ต้องการแหล่งอ้างอิงเพิ่ม
ตามคติความเชื่อของชาวพุทธ การใช้คำว่า "เทพ หรือ เทวดา"
ครอบคลุมถึงพรหมทั้งหลายในพรหมโลกด้วย โดยแบ่งเป็น
เทวดาชั้นฉกามาวจร (ผู้ที่ยังเกี่ยวข้องกับกาม)
อยู่บนสวรรค์ชั้นฉกามาพจร หรือสวรรค์ที่ยังเกี่ยวข้องกับกามซึ่งมี 6 ชั้น คือ จาตุมหาราชิกา ดาวดึงส์ ยามา ดุสิต นิมมานรดี และปรนิมมิตสวัตดี
เทวดาชั้นรูปาวจร หรือ รูปพรหม 16 ชั้น เป็นเทวดาที่ยังมีกายทิพย์อยู่
เทวดาชั้นอรูปาจร หรือ อรูปพรหม
เป็นเทวดาซึ่งไม่มีกายทิพย์
เนื้อหา [ซ่อน]
1 การเกิด
2 อายุขัย
4 การทำความดี
5 อ้างอิง
การเกิด
การเกิดเป็นเทวดาไม่ต้องผ่านครรภ์มารดา แต่จะเกิดกายเป็นเทวดาเลย
เรียกว่าโอปปาติกะ
มนุษย์จะเกิดเป็นเทวดาได้เมื่อจิตก่อนตายระลึกถึงความดีเล็กน้อยที่เคยทำไว้ในโลกมนุษย์
เกิดเป็นมหากุศลจิต 8 ดวง อันประกอบด้วย หิริ และโอตตัปปะ การบริจาคทาน
การฟังธรรม หรือการสร้างสิ่งที่เป็นสาธารณประโยชน์ เป็นต้น
อายุขัย
อายุของเทวดามีหน่วยเป็นปีทิพย์ ปีทิพย์ในสวรรค์ชั้นต่าง ๆ ไม่เท่ากัน
คัมภีร์อภิธัมมัตถสังคหะ ระบุอายุขัยของเทวดาแต่ละชั้นไว้ดังนี้[1] กล่าวคือ
500 ปีทิพย์
เป็นประมาณอายุของเทวดาสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา ประมาณ 9,000,000 ปี ด้วยการคำนวณแห่งปีมนุษย์
1,000 ปีทิพย์
เป็นประมาณอายุของเทวสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ประมาณ 4 เท่า จาก 9,000,000 ปี ด้วยการคำนวณแห่งปีมนุษย์ จึงเท่ากับ 36,000,000
ปี
2,000 ปีทิพย์ เป็นประมาณอายุของเทวดาสวรรค์ชั้นยามา
ประมาณ 4 เท่า จาก 36,000,000 ปี
ด้วยการคำนวณแห่งปีมนุษย์ จึงเท่ากับ 144,000,000 ปี
4,000 ปีทิพย์
เป็นประมาณอายุของเทวดาสวรรค์ชั้นดุสิต ประมาณ 4 เท่า จาก 144,000,000 ปี ด้วยการคำนวณแห่งปีมนุษย์ จึงเท่ากับ 576,000,000 ปี
8,000 ปีทิพย์
เป็นประมาณอายุของเทวดาสวรรค์ชั้นนิมมานรดี ประมาณ 4 เท่า
จาก 576,000,000 ปี ด้วยการคำนวณแห่งปีมนุษย์ จึงเท่ากับ 2,304,000,000 ปี

เทวดา
ที่ยังไม่บรรลุอรหัตตผลจะเวียนว่ายตายเกิดต่อไปเช่นเดียวกับมนุษย์
เพียงแต่อายุจะยืนกว่ามนุษย์ดังกล่าวไว้ด้านต้น
เทวดามีทั้งเทวดาที่ดีและเทวดาที่ไม่ดี
ในอรรถกถามงคลสูตรกล่าวว่าเทวดาจะมาโลกมนุษย์ก็ด้วยกิจบางอย่าง เช่น กลิ่นศีลของผู้ปฏิบัติธรรม
เช่น จะมาเฝ้าพระพุทธเจ้า เวลามาจะมาตอนกลางคืนและยืนเฝ้าพระพุทธเจ้า
เนื่องจากเทวดาจะเหม็นกลิ่นมนุษย์ได้ไกลถึง 100 โยชน์[2] (ประมาณ 1,600 กิโลเมตร) หากมนุษย์มาจะรีบหายตัวกลับ
ดังนั้น เทวดาจะไม่สนใจมนุษย์ธรรมดาที่ไม่มีศีลธรรมเลย แม้จะเอาหมูเห็ดเป็ดไก่กี่ร้อยกี่พันตัวก็ตาม
เทวดาก็ไม่มาหา ยกเว้นแต่คนที่ดีจริงๆ ที่โบราณว่า "คนดีผีคุ้ม"
ก็คือเทวดาจะคุ้มครองเฉพาะคนดีมีศีลธรรม อย่าเอาแต่อ้อนวอนนัก เทวดาไม่สนใจเลย
สู้ลงมือทำด้วยความเพียรของมนุษย์เป็นดีที่สุด มนุษย์พัฒนาตนแล้ว มีศีลมีธรรม
แม้แต่เทวดายังต้องเคารพนอบน้อมเหมือนดังพระพุทธเจ้าและพระพุทธสาวกทั้งหลาย
ความเป็นทิพย์
เทวดาไม่มีกายเนื้อ จึงไม่เจ็บไม่ไข้ มีรูปโฉมงดงามจนดูเหมือนกันไปหมด
สามารถคงความหนุ่มสาวอยู่เช่นนั้นตลอดอายุขัย อยากได้อะไรก็เพียงนึกเอาเท่านั้น
เช่นว่าอยากให้อิ่มก็ไม่ต้องทานอาหาร เพียงแต่นึกเอาก็อิ่มแล้ว เรียกว่า อิ่มทิพย์
การทำความดี
ชาวพุทธถือว่า เทวดาบนสรวงสวรรค์เป็นภพภูมิที่เสวยสุขอย่างเดียว
ไม่สามารถทำความดีได้มาก เนื่องจากไม่มีกายเนื้อ
แต่สามารถติดตามผู้ที่ทำความดีอย่างสม่ำเสมอได้ เพื่ออนุโมทนาบุญ สามารถสวดมนต์และฟังธรรมได้
เมื่อเทวดาหมดบุญแล้วก็ต้องจุติไปเกิดในภพภูมิอื่นๆต่อไป
ผู้ที่เป็นเทวดาถือว่าการเกิดในโลกมนุษย์เป็นสุคติภูมิของตน เพราะมนุษย์มีกายเนื้อ
สามารถทำความดีได้มาก

อ้างอิง
กระโดดขึ้น ↑ วีถิมุตตสังคหะ, อภิธัมมัตถสังคหะและปรมัตถทีปนี,
หน้า 59
กระโดดขึ้น ↑ แก้อรรถบท เกวลกปฺปํ, อรรถกถา ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ
มงคลสูตรในขุททกปาฐะ